Menu

ITA เปิดประตูสู่ความโปร่งใส 2568

การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตอบมีหรือไม่มีการเปิดเผยข้อมูล พร้อมทั้งระบุ URL เพื่อเชื่อมโยงไปสู่แหล่งที่อยู่ของ การเปิดเผยข้อมูล และระบุคําอธิบายเพิ่มเติมประกอบคําตอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของสถานศึกษา โดยเป็นการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของสถานศึกษาเพื่อให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์หลักของสถานศึกษาได้ ใน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล (o1 – o29) ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน (o1 – o6)
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน (o7 – o16)
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การบริหารเงินงบประมาณ (o17 – o22)
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล (o23 – o25)
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส (o26 – o29)
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต (o30 – o37) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดําเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต (o30 – o35)
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต (o36 – o37)

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย (29 ข้อมูล) ดังนี้

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน

1.ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o1
โครงสร้าง
– แสดงแผนผัง แสดงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสถานศึกษา
– แสดงตำแหน่งที่สำคัญและการแบ่งส่วนงานภายใน ยกตัวอย่าง เช่น ฝ่าย งาน แผนกวิชา เป็นต้น
ข้อมูล 01
o2
ข้อมูลผู้บริหาร
– แสดงข้อมูลของผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. ชื่อ-นามสกุล
2. ตำแหน่ง
3. รูปถ่าย
4. ช่องทางการติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หรือ Line หรือ E-mail เป็นต้น (ช่องทางใดช่องทางหนึ่ง)
ข้อมูล 02
o3
อำนาจหน้าที่
– แสดงข้อมูลหน้าที่และอำนาจของสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คำสั่งมอบหมายหหน้าที่ของสถานศึกษา ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา เป็นต้น
ข้อมูล 03
o4
แผนพัฒนาสถานศึกษา
– แสดงแผนการดําเนินภารกิจของสถานศึกษาที่มีระยะมากกว่า 1 ปี
– มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์หรือแนวทาง
2. เป้าหมาย
3. ตัวชี้วัด
– เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปีงบประมาณปัจจุบัน
o5
ข้อมูลการติดต่อ
– แสดงข้อมูลการติดต่อของสถานศึกษา อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. ที่อยู่สถานศึกษา
2. หมายเลขโทรศัพท์
3. E-mail
4. แผนที่ตั้ง
o6
กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
– แสดงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานหรือการ ปฏิบัติงานของสถานศึกษา เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การใช้มาตรฐานการ อาชีวศึกษา ระดับ ปวช.และระดับ ปวส. เป็นต้น
ข้อมูล 06

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน ได้แก่ แผนดำเนินงาน การปฏิบัติงาน และการให้บริการ

2. การบริหารงาน

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o7
ข่าวประชาสัมพันธ์
– แสดงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน ตามอํานาจหน้าที่หรือภารกิจของสถานศึกษาเป็นข้อมูล ข่าวสารที่เกิดขึ้นปีงบประมาณปัจจุบัน
o8
Q&A
– แสดงตําแหน่งบนเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่ บุคคลภายนอกสามารถสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ และ หน่วยงานสามารถสื่อสารให้คําตอบกับผู้สอบถามได้ โดย มีลักษณะเป็นการสื่อสารได้สองทางบนหน้าเว็บไซต์ของ สถานศึกษา (Q&A) เช่น Web board, กล่องข้อความ ถาม-ตอบ, Chat, Chatbot เป็นต้น

3. การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o9
Social Network
– แสดงตําแหน่งบนเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่สามารถ เชื่อมโยงไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ของสถานศึกษา ยกตัวอย่าง เช่น Facebook, Twitter, Instagram, TikTok เป็นต้น

4. การดําเนินงาน

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o10
แผนดําเนินงาน ประจําปี
– แสดงแผนการดําเนินภารกิจของสถานศึกษาที่มีระยะ 1 ปี
– มีข้อมูลรายละเอียดของแผน ฯ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. โครงการหรือกิจกรรม
2. งบประมาณที่ใช้
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการดําเนินการ
– เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน
o11
รายงานผล การดําเนินงาน ประจําปี
– แสดงผลการดําเนินงานตามแผนดําเนินงานประจําปี
– มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดําเนินงานย้อนหลัง
1 ปีงบประมาณ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1.1 ผลการดําเนินการโครงการหรือกิจกรรม
1.2 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
1.3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
(หากไม่มี ให้เขียนบอกว่า “ไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ” แต่ต้องปรากฏรายละเอียดครบทั้ง 3 องค์ประกอบ)

5. การปฏิบัติหน้าที่

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o12
คู่มือหรือมาตรฐาน การปฏิบัติงาน
– แสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ของสถาน ศึกษาที่ใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
– มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 1 คู่มือ ซึ่งเป็นคู่มือปฏิบัติภารกิจใด สําหรับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานตําแหน่งใด กําหนดวิธีการขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร เช่น คู่มือ การปฏิบัติงานสําหรับงานพัสดุ งานการเงิน เป็นต้น
ข้อมูล 12
o13
คู่มือหรือมาตรฐาน การให้บริการ
– แสดงคู่มือการให้บริการประชาชนหรือคู่มือแนวทาง การปฏิบัติที่ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อกับสถานศึกษา ซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการขอรับบริการหรือติดต่อกับสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติ อย่างน้อย 1 คู่มือ ซึ่งกําหนดวิธีการขั้นตอนการให้บริการหรือการติดต่อ อย่างไร ตัวอย่างเช่น คู่มือการให้ บริการงานการเงิน, คู่มือนักเรียนนักศึกษา, คู่มือการลงทะเบียนสําหรับนักเรียน นักศึกษา, คู่มือการให้บริการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ข้อมูล 13
o14
ข้อมูลเชิงสถิติ การให้บริการ
– แสดงข้อมูลสถิติการให้บริการของสถานศึกษา
– สามารถจัดทําข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือ รายไตร มาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน
– เป็นข้อมูลที่เกิดจากการให้บริการจากสถานศึกษา เช่น จํานวนผู้ใช้บริการ Fix it, ช่วงเทศกาลปีใหม่, จํานวน ผู้ใช้บริการห้องสมุดสถานศึกษา เป็นต้น
ข้อมูล 14
o15
รายงานผลการสํารวจความพึงพอใจการให้บริการ
– แสดงผลสํารวจความพึงพอใจการให้บริการของสถานศึกษา เช่น ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน, ความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ, ความพึงพอใจการจัดงานกีฬาสี เป็นต้น
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
ข้อมูล 15
o16
E-Service
– แสดงช่องทางการให้บริการข้อมูลหรือธุรกรรมภาครัฐที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ขอรับบริการไม่จําเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษา เช่น การร้องเรียน ร้องทุกข์,การประสานงานใช้สถานที่, ระบบ ศธ02, ระบบ RMS เป็นต้น
– สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จาก เว็บไซต์หลักของสถานศึกษา

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การบริหารเงินงบประมาณ ได้แก่ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี และการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ

6. แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o17
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี
– แสดงแผนการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษาที่มี ระยะ 1 ปี มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. งบประมาณตามแหล่งที่ได้รับการจัดสรร
2. งบประมาณตามประเภทรายการใช้จ่าย
– เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน
o18
ผลการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี
– แสดงผลการดําเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี
– มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการใช้จ่ายงบประมาณ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1 ผลการใช้งบประมาณตามประเภทรายการใช้จ่าย ได้แก่งบอุดหนุน งบลงทุน งบดําเนินงาน งบบุคลากร งบรายจ่ายอื่น
2. ปรากฎแผนงาน หรือ ผลลิต หรือ โครงการ หรือ รายการ ในการใช้จ่ายงบประมาณตามประเภทรายการใช้จ่าย
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ

7. การจัดซื้อจัดจ้างหรือกาจัดหาพัสดุ

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้แก่ นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล และหลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o19
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
– แสดงแผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ ตามที่สถานศึกษาจะต้องดําเนินการตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ 2560
– เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณปัจจุบัน
ข้อมูล 19
o20
ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้างหรือการ จัดหาพัสดุ
– แสดงประกาศการจัดซื้อจัดจ้างตามที่สถานศึกษา จะต้องดําเนิน การตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ 2560 เช่น ประกาศ เชิญชวน, ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
– เป็นข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณปัจจุบัน
ข้อมูล 20
o21
สรุปผลการจัดซื้อ จัดจ้างหรือจัดหา พัสดุรายเดือน
– แสดงสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างของสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดผลการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. ชื่อหน่วยงาน
2. งานที่ซื้อหรือจ้าง
3. วงเงินที่ซื้อหรือจ้าง
4. วิธีซื้อหรือจัดจ้าง
5. รายชื่อผู้ เสนอราคา
6. ราคาที่เสนอ
7. รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้คัดเลือก
8. ราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง คัดเลือก
9. เหตุผลที่ คัดเลือกโดยสรุป
10. เลขที่และวันที่ของสัญญา
หรือ ข้อตกลงในการซื้อหรือจ้าง หรือ ตามแบบฟอร์มระบบ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรมบัญชีกลาง
– เป็นข้อมูลแบบรายเดือนที่มีข้อมูลครอบคลุมใน ระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน
ข้อมูล 21
o22
รายงานผลการ จัดซื้อจัดจ้างหรือ การจัดหาพัสดุ ประจําปี
– แสดงผลการจัดซื้อจัดจ้างของสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดผลการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1.ชื่อหน่วยงาน
2. งานที่ซื้อหรือจ้าง
3. วงเงินที่ซื้อหรือจ้าง
4. วิธีซื้อหรือจัดจ้าง
5. รายชื่อผู้ เสนอราคา
6. ราคาที่เสนอ
7. รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้ คัดเลือก
8. ราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง คัดเลือก
9. เหตุผล ที่คัดเลือกโดยสรุป
10. เลขที่และวันที่ของสัญญาหรือ ข้อตกลงในการซื้อหรือจ้าง
หรือ ตามแบบฟอร์มระบบ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรมบัญชีกลาง
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
ข้อมูล 22

8. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o23
การดําเนิน โครงการ/กิจกรรม ที่แสดงถึง การพัฒนา ทรัพยากรบุคคล
– แสดงการดําเนินโครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงการพัฒนา ทรัพยากรบุคคลจํานวนไม่น้อยกว่า 3 โครงการ/กิจกรรม
อย่างน้อย ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. โครงการ/กิจกรรม
2. งบประมาณ
3. กลุ่มเป้าหมาย
4. ระยะเวลาดําเนินโครงการ/กิจกรรม
– เป็นการดําเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
ข้อมูล 23
o24
หลักเกณฑ์การ บริหารและพัฒนา ทรัพยากรบุคคล
– แสดงหลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่ยังใช้บังคับในสถานศึกษา ปีงบประมาณปัจจุบัน อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเช่นการสรรหาและ คัดเลือก พนักงานราชการ,ครูพิเศษสอน, เจ้าหน้าที่ เป็น ต้น (กรณีไม่มีการสรรหา ให้ใช้การต่อสัญญา)
2. การบรรจุและการแต่งตั้งบุคลากร เช่น การบรรจุ และแต่งตั้งพนักงานราชการ,ครูพิเศษสอน,เจ้าหน้าที่ เป็น ต้น (กรณีไม่มีบรรจุและแต่งตั้ง ให้ใช้การต่อสัญญา)
3. การพัฒนาบุคลากร เช่น พัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
4. การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร เช่น รายงาน ผลการประเมินเงินเดือน เป็นต้น
5. การสร้างขวัญกําลังใจ เช่น การขอพระราช ทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์,การแสดงความยินดีครูและ บุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น, การเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรดีเด่น เป็นต้น
ข้อมูล 24
o25
รายงานผลการ ดําเนินโครงการ/ กิจกรรมที่แสดงถึง การพัฒนา ทรัพยากรบุคคล
– แสดงผลการดําเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม จํานวน ไม่น้อยกว่า 3 โครงการ/กิจกรรม ที่แสดงถึงการพัฒนา ทรัพยากร มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดําเนินการ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. ผลการดําเนินการโครงการหรือกิจกรรม
2. ผลการใช้จ่ายงบประมาณ (หากไม่มี ระบุว่า “ไม่ใช้งบประมาณ”)
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ (หากไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ระบุว่า “ไม่มี”)
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
ข้อมูล 25

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใสในสถานศึกษา ได้แก่ การจัดการเรื่องร้องเรียน การทุจริตและประพฤติมิชอบ และการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

9. การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o26
แนวทางปฏิบัติการ จัดการร้องเรียน การทุจริตและ ประพฤติมิชอบ
– แสดงคู่มือหรือแนวทางการดําเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่ เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ หรือ บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา มีข้อมูลรายละเอียด ของการปฏิบัติงาน อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. รายละเอียดวิธีการที่บุคคลภายนอกจะทําการ ร้องเรียน
2. รายละเอียดขั้นตอนหรือวิธีการในการจัดการต่อเรื่อง ร้องเรียน
3. ฝ่ายงานที่รับผิดชอบ (รอง ผอ.)
4. ระยะเวลาดําเนินการ
o27
ช่องทางแจ้งเรื่อง ร้องเรียนการทุจริต และประพฤติ มิชอบ
– แสดงช่องทางที่บุคคลภายนอกสามารถแจ้งเรื่อง ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของ บุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาผ่านช่องทาง ออนไลน์ของสถานศึกษา โดยแยกต่างหากจากช่อง ทางการร้องเรียนเรื่องทั่วไป เพื่อเป็นการคุ้มครองข้อมูล ของผู้แจ้งเบาะแส และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติการ จัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
– สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จาก เว็บไซต์หลักของสถานศึกษา
o28
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่อง ร้องเรียนการทุจริต และประพฤติมิชอบ
– แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติ มิชอบของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางศึกษาของ สถานศึกษา – มีข้อมูลความก้าวหน้าการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต และประพฤติมิชอบ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. จํานวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด
2. จํานวนเรื่องที่ดําเนินการแล้วเสร็จ
3. จํานวนเรื่องที่อยู่ระหว่างดําเนินการ
– สามารถจัดทําข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะ เวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน
*กรณีไม่มีเรื่องร้องเรียนให้เผยแพร่ว่าไม่มีเรื่องร้องเรียน
ข้อมูล 28

10. การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o29
การเปิดโอกาสให้ เกิดการมีส่วนร่วม
– แสดงการดําเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการเปิด โอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดําเนินงาน ตามภารกิจของสถานศึกษา เช่น ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/ โครงการ, การลงนามความร่วมมือ (MOU) กับสถาน ประกอบการหรือบุคคล/หน่วยงานภายนอก เป็นต้น
– เป็นการดําเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน

ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย (8 ข้อมูล) ดังนี้

ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

11. เจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษา

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o30
นโยบายไม่รับ ของขวัญ (No Gift Policy)
– แสดงนโยบายว่าผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และบุคลากร ทุกคนจะต้องไม่มีการรับของขวัญ (No Gift Policy)
– ดําเนินการโดยผู้บริหารสถาน ศึกษาหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมาย หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทน
– เป็นการดําเนินการในปี งบประมาณปัจจุบัน
ข้อมูล 30
o31
การมีส่วนร่วมของ ผู้บริหาร สถานศึกษา
– แสดงการดําเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการมีส่วน ร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทน
– เป็นการดําเนินกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการให้ ความสําคัญกับการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมสถานศึกษาด้านคุณธรรมและความโปร่งใส หรือมีส่วนร่วม ในการประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
– เป็นการดําเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
ข้อมูล 31

ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

12. การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o32
การประเมินผลควบคุมภายใน
แสดงรายการผลประเมินควบคุมภายใน อย่างน้อย ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อม
2. ด้านการประเมินความเสี่ยง
3. ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร
4. ด้านการติดตามและประเมินผล
– เป็นการดําเนินการย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
o33
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
– มีการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอน ระดับ ปวช. รหัสวิชา 20000-2003 รายวิชากิจกรรมเสริมสร้างสุจริต จิตอาสา และระดับ ปวส. รหัสวิชา 30000-2001 รายวิชากิจกรรมเสริมสร้าง สุจริต จิตอาสา หรือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้าง วัฒนธรรมองค์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตใน รูปแบบ อื่น ๆ เช่น โครงการ/กิจกรรม, แนวทางปฏิบัติ, ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ ฯลฯ
ข้อมูล 33
o34
โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การป้องกัน การทุจริต
– แสดงโครงการ/กิจกรรม ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกัน การทุจริต หรือพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของ สถานศึกษา อย่างน้อย ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. โครงการ /กิจกรรม
2. งบประมาณ (กรณีไม่ได้ใช้งบประมาณ ให้ระบุว่า ไม่ใช้งบประมาณ)
3. ช่วงเวลาดําเนินการ
– เป็นโครงการ/กิจกรรม ที่มีระยะเวลาบังคับใช้ใน ปีงบประมาณปัจจุบัน
o35
รายงานผลการ ดําเนินโครงการ/ กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การป้องกัน การ ทุจริตประจําปี
– แสดงผลการดําเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริต มีข้อมูลรายละเอียด สรุปผลการดําเนินการ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. ผลการดําเนินการโครงการหรือกิจกรรม
2. ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ (หากไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ระบุว่า “ไม่มี”)
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ

13. มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล
o36
มาตรการส่งเสริม คุณธรรมและ ความโปร่งใส ภายในสถานศึกษา
– แสดงการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความ โปร่งใสในการดําเนินงานของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ย้อนหลัง 1 ปี งบประมาณ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1. ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้อง แก้ไขโดยเร่งด่วน
2. ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ที่มีความสอดคล้อง กับผลการประเมินฯ (หากไม่ได้ดําเนินการให้แสดงมาตรการที่ส่งเสริมคุณธรรม และความโปร่งใสภายในสถานศึกษาหรือประกาศนโยบาย ไม่รับของขวัญ)
o37
การดําเนินการ ตามมาตรการ ส่งเสริม คุณธรรมและ ความโปร่งใส ภายในสถานศึกษา
– แสดงความก้าวหน้าหรือผลการดําเนินการตามมาตรการ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดการนํามาตรการเพื่อส่งเสริม คุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานในข้อ o36 ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
– เป็นการดําเนินการในปี งบประมาณปัจจุบัน